เผยแพร่ผลงานวิจัย : เรื่อง แนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาพลศึกษา ในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


ผู้ดูแลระบบ | 2020-10-03 14:50:12

หัวข้อวิจัย              แนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของ นักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาพลศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้ดำเนินการวิจัย  ดร.ทิพย์รัตน์ ประเสริฐสังข์ และ ดร.จรูญ เบญจมาตย์

ที่ปรึกษา               รองศาสตราจารย์ ดร.สมเจตน์ ภูศรี

หน่วยงาน             คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ปี พ.ศ.                    2563

บทคัดย่อ

           การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และ นวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาพลศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่ม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาพลศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย คณบดีหรือผู้บริหารคณะครุศาสตร์ในมหาวิทยาลัยราช ภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 11 แห่ง แห่งละ 1 คน รวมจำนวน 11 คน และอาจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่ม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 55 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย เป็นแบบสอบถามซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 มีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ (Check List) ตอนที่ 2 เป็นแบบ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 43 ข้อและตอนที่ 3 เป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 20 ข้อ

           ผลการวิจัยที่สำคัญพบว่า 1) แนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาพลศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีองค์ประกอบของทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 6 ด้าน คือ การแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นและการตัดสินใจร่วมกันการสร้างสรรค์สิ่งใหม่การเชื่อมโยงความคิดการสื่อสารและ ทำงานร่วมกันการใช้เหตุผล และการแก้ปัญหาด้วยวิธีหลากหลาย สามารถนำเสนอความสำคัญของ องค์ประกอบดังกล่าวของนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาพลศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเรียงตามลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ 1.1) องค์ประกอบที่มีความสำคัญ มากลำดับที่ 1 คือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการตัดสินใจร่วมกัน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.01 1.2) องค์ประกอบที่มีความสำคัญมากลำดับที่ 2 คือ การสื่อสารและทำงานร่วมกัน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  3.97 1.3) องค์ประกอบที่มีความสำคัญมากลำดับที่ 3 คือ การใช้เหตุผล, การแก้ปัญหาด้วยวิธี หลากหลาย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.96 1.4) องค์ประกอบที่มีความสำคัญมากลำดับที่ 4 คือ การเชื่อมโยง ความคิด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.90 2) แนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาพลศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยภาพรวม  อยู่ในระดับมาก  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ   4.32 เรียงตามลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้   2.1) เตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาก่อนเข้าศึกษาชั้นปีที่  1 โดยการจัดฝึกอบรม/กิจกรรม, จัด ฝึกอบรม/กิจกรรมให้กับนักศึกษาในแต่ละชั้นปี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 2.2) หลักสูตรมีการส่งเสริม และพัฒนาให้นักศึกษามีสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.39 2.3) การจัด ฝึกอบรม/กิจกรรมควรมีความเหมาะสมกับพื้นฐานความรู้ของนักศึกษาในแต่ละชั้นปี,จัดการเรียนการ สอนและกิจกรรมพัฒนาให้นักศึกษามีสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับใช้การดำเนินชีวิตในศตวรรษที่  21 มี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.38  2.4) จัดการเรียนการสอนและกิจกรรมพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาด้วยวิธีที่หลากหลาย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36  2.5) จัดการเรียนการสอนและกิจกรรมพัฒนานักศึกษาโดยส่งเสริมให้เกิดการคิด/สร้างสรรค์งานใหม่ร่วมกัน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 2.6) จัดการเรียนการสอน และกิจกรรมพัฒนานักศึกษาโดยส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการตัดสินใจร่วมกัน, จัดการเรียนการสอนและกิจกรรมพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 2.7) จัดการเรียนการสอนและกิจกรรมพัฒนาทักษะการสื่อสารของนักศึกษาแต่ละชั้นปี, การจัดการ เรียนการสอนและกิจกรรมพัฒนานักศึกษาสามารถพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษ ที่ 21 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 2.8) จัดการเรียนการสอนและกิจกรรมพัฒนานักศึกษาโดยส่งเสริมให้ เกิดการคิด/สร้างสรรค์งานใหม่ด้วยตนเอง, จัดการเรียนการสอนและกิจกรรมพัฒนาทักษะการทำงาน ร่วมกันของนักศึกษาแต่ละชั้นปี, สถานศึกษาของท่านให้ความสำคัญในการทักษะการเรียนรู้และ นวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 โดยการกำหนดนโยบาย/กิจกรรมเตรียมความพร้อม/จัดอบรม/กิจกรรม พัฒนานักศึกษา  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.30 2.9) จัดฝึกอบรม/กิจกรรมให้ตรงตามความต้องการของ นักศึกษา, เทคโนโลยีและนวัตกรรมมีส่วนสำคัญในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมใน ศตวรรษที่ 21 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.28 2.10) จัดการเรียนการสอนและกิจกรรมพัฒนาทักษะการ แก้ปัญหาด้วยวิธีที่หลากหลาย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 2.11) การปรับตัวของนักศึกษา พร้อมที่จะ เปลี่ยนแปลงกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะคือ ควรสอน ให้นักศึกษาเป็นผู้คิดมากกว่าผู้รับคำสั่ง และนักศึกษาในยุคปัจจุบันมีความสามารถในการใช้เครื่องมือ ทางด้านเทคโนโลยีได้ดีกว่ายุคสมัยก่อน การศึกษาปัจจุบันควรเปิดโอกาสให้นักศึกษาสร้างสรรค์ ผลงานใหม่ๆด้วยตนเอง และควรมีวิธีการสอนใหม่ๆและแนวคิดใหม่ๆที่จะมีประโยชน์แก่นักศึกษาใน ยุคนี้และในอนาคตต่อไป