ในปี พ.ศ. 2530 วิทยาลัยครูมหาสารคาม ได้มีการปรับปรุงแบ่งส่วนราชการเพื่อให้เกิดความคล่องตัว และปฏิบัติภารกิจได้ในฐานะ
ที่เป็นสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะนั้น ได้แบ่งส่วนราชการเป็น 4 คณะวิชา คือ คณะวิชาครุศาสตร์ คณะวิชา
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะวิชาวิทยาการจัดการ มีหน่วยงานศูนย์ สำนัก ซึ่งทำหน้าที่
สนับสนุนการเรียนการสอนอีก 6 หน่วยงาน คือ สำนักงานอธิการบดี สำนักส่งเสริมวิชาการ สำนักกิจการนักศึกษา สำนักวางแผนและ
พัฒนาศูนย์ศิลปวัฒนธรรม และศูนย์วิจัยและบริการการศึกษา
เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 วิทยาลัยครูทุกแห่งได้รับพระราชทานนามว่า “สถาบันราชภัฏ” ใช้คำภาษาอังกฤษว่า
“Rajabhat Institute” แล้วต่อเติมด้วยชื่อจังหวัด
ต่อมา พ.ศ. 2542 ได้ปรับเปลี่ยนชื่อจากศูนย์วิจัยและบริการการศึกษา มาเป็นสำนักวิจัยและบริการวิชาการ พร้อมทั้งมีการจัดตั้ง
ศูนย์การศึกษาการพัฒนาการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สถาบัน
ราชภัฏมหาสารคามได้น้อมนำเอาพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจแบบพอเพียงและพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาท้องถิ่นมาเป็นแนวทาง
ในการดำเนินงานเพื่อเป็นการสืบสานพระราชปณิธาน และขยายงานอันทรงคุณค่าต่อการพัฒนาท้องถิ่นให้แผ่ขยายออกไป และเมื่อปี
พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ซึ่งส่งผลให้สถาบัน
ราชภัฏมหาสารคาม เปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2547เป็นต้นไป และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น
สถาบันวิจัยและพัฒนา"
สถาบันวิจัยและพัฒนา ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 เมื่อนับมาถึงปี พ.ศ. 2560 สถาบันวิจัยและพัฒนา มีผู้บริหารสำนักวิจัยและ
บริการวิชาการตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงปัจจุบัน (ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา) จำนวน 7 ท่าน คือ
ปี พ.ศ. 2530 – 2534 ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุปผชาติ เรืองสุวรรณ
ปี พ.ศ. 2535 – 2538 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประสิทธิ์ พลศรีพิมพ์
ปี พ.ศ. 2539 – 2540 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ คำศรี
ปี พ.ศ. 2540 – 2547 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอนก ศิลปนิลมาลย์
ปี พ.ศ. 2548 – 2555 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รังสรรค์ สิงหเลิศ (ดำรงตำแหน่ง 2 วาระ)
ปี พ.ศ. 2556 – 2560 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมสงวน ปัสสาโก
ปี พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน รองศาสตราจารย์ ดร.สัญญา เคณาภูมิ