ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2)



ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

เรื่อง ทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณรายจ่ายเงินรายได้ (บ.กศ.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2)

           จากประกาศประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เรื่อง ทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณรายจ่ายเงินรายได้ (บ.กศ.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ประกาศ ณ วันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2562 ที่จำเป็น ต้องระบุรายละเอียดของหลักเกณฑ์การให้การสนับสนุนทุนวิจัยเพิ่มเติม ประกอบการที่ประชุมคณะกรรมการ-บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (กบ.มรม.) วันที่ 3 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2562  ได้เสนอให้เพิ่มเติมรายละเอียดของกรอบการวิจัยงบประมาณรายจ่ายเงินรายได้ (บ.กศ.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ให้เป็นทุนวิจัยแบบมุ่งเป้าหมายตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2560-2564

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ขอแจ้งกำหนดลักษณะข้อเสนอโครงการวิจัยและรายละเอียดต่างๆ ดังนี้

                   1. ทุนวิจัยงบประมาณรายจ่ายเงินรายได้ (บ.กศ.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 เป็นทุนวิจัยแบบมุ่งเป้าหมายตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2560-2564 (ฉบับปรับปรุง 2561)

                   2. เกณฑ์การขอรับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณรายจ่ายเงินรายได้ (บ.กศ.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 แบ่งเป็น 5 กลุ่มดังนี้

                 2.1 การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรเพื่อการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQR : Thai Qualifications Register)

                     2.1.1 เป้าหมาย

                       1) หลักสูตรมีความพร้อมสามารถดำเนินการประเมินคุณภาพหลักสูตรเพื่อเผยแพร่เป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQR : Thai Qualifications Register)

                       2) สาธารณชนรับรู้ว่าหลักสูตรมีการจัดการศึกษาได้คุณภาพและเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด

                       3) มีการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้บัณฑิตมีคุณลักษณะตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่หลักสูตรกำหนด (Expected Learning Outcomes) อย่างสม่ำเสมอ

                   2.1.2 กรอบการวิจัย ลักษณะของกรอบการวิจัยลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้

                       1) เป็นการส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตร/พัฒนาอาจารย์/พัฒนานักศึกษา/พัฒนาระบบกลไกการการบริหารจัดการหลักสูตร/การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานหลักสูตรตามกรอบการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา (คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา ฉบับปีการศึกษา 2557 สำนักมาตรฐานและคุณภาพอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา)

                       2) เป็นการส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตร/พัฒนาอาจารย์/พัฒนานักศึกษา/พัฒนาระบบกลไกการการบริหารจัดการหลักสูตร/การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานหลักสูตรตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561

                       3) ลักษณะอื่นที่นำไปสู่การเป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) เกี่ยวกับการพัฒนาขีดความสามารถของหลักสูตรให้สามารถเผยแพร่หลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQR : Thai Qualifications Register)

                   2.1.3 คุณสมบัติของการขอรับทุน ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

                       คุณสมบัตินักวิจัย

                       1) เป็นบุคลากรประจำ สายวิชาการ หรือนักวิจัย สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และไม่อยู่ระหว่างการลาศึกษาต่อเต็มเวลา

                       2) เป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติงาน และควบคุมการวิจัยได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับทุนอุดหนุนวิจัยและต้องมีสัดส่วนการทำงานวิจัยไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

                       3) เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยได้ไม่เกิน 1 โครงการ

                       4) เป็นผู้ที่ไม่เคยถูกระงับโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม อันเนื่องมาจากหัวหน้าโครงการวิจัยละทิ้งโครงการ และเป็นผู้ไม่เคยผิดสัญญาใดๆ ในการรับทุนอุดหนุนการวิจัย จากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม หรือแหล่งทุนอื่นๆ

                       คุณสมบัติหลักสูตรสาขาวิชา

                       1) เป็นคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่ได้ผลการประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับดี 3.01 คะแนนขึ้นไปต่อเนื่องกัน 2 ปี

                       2) เป็นทีมวิจัยซึ่งเป็นคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนไม่น้อยกว่า 2 คน

                   2.1.4 ตัวชี้วัดความสำเร็จ

                       1) ผลงานวิจัยที่ต้องสัมฤทธิ์ (Output) ตามเกณฑ์ตัวชี้วัดความสำเร็จตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2560-2564 (ฉบับปรับปรุง 2561)

                       2) ผลการดำเนินการวิจัยต้องทำให้คะแนนประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตรเพิ่มขึ้น ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 ของคะแนนรอบปีที่ผ่านมา

                       3) ส่วนใดส่วนหนึ่งผลงานวิจัยต้องได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล ไม่ต่ำกว่าฐาน (TCI) กลุ่ม 1 จำนวนไม่น้อยกว่า 1 บทความ (ทั้งนี้ขอให้มุ่งเน้นการตีพิมพ์ในวารสารภายนอก มรม.)

                 2.2 การวิจัยและพัฒนาเพื่อการบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน (Work integrated Learning : WiL) 

                   2.1.1 เป้าหมาย

                       1) หลักสูตรสาขาวิชาได้จัดการเรียนการสอนโดยการบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน (Work integrated Learning : WiL) 

                       2) สาธารณชนรับรู้และเห็นคุณค่าของหลักสูตรว่าจัดการศึกษาได้คุณภาพและเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด

                       3) หลักสูตรจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองความต้องการของสังคมชุมชนซึ่งทำให้มีผู้สนใจที่จะศึกษาต่อในหลักสูตรสาชาวิชามากขึ้น

                   2.1.2 กรอบการวิจัย ลักษณะของกรอบการวิจัยลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้

                       1) เป็นการส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตร/พัฒนาอาจารย์/พัฒนานักศึกษา/พัฒนาระบบกลไกการการบริหารจัดการหลักสูตรเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบการบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน (Work integrated Learning : WiL)

                       2) ลักษณะอื่นที่นำไปสู่การเป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) เกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบการบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน (Work integrated Learning : WiL)            

                   2.1.3 คุณสมบัติของการขอรับทุน ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

                   คุณสมบัตินักวิจัย

                       1) เป็นบุคลากรประจำ สายวิชาการ หรือนักวิจัย สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และไม่อยู่ระหว่างการลาศึกษาต่อเต็มเวลา

                       2) เป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติงาน และควบคุมการวิจัยได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับทุนอุดหนุนวิจัยและต้องมีสัดส่วนการทำงานวิจัยไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

                       3) เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยได้ไม่เกิน 1 โครงการ

                       4) เป็นผู้ที่ไม่เคยถูกระงับโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม อันเนื่องมาจากหัวหน้าโครงการวิจัยละทิ้งโครงการ และเป็นผู้ไม่เคยผิดสัญญาใดๆ ในการรับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม หรือแหล่งทุนอื่นๆ

                   คุณสมบัติหลักสูตรสาขาวิชา

                       1) เป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรหรืออาจารย์ผู้สอนในหลักสูตรปริญญาตรีที่ได้ผลการ-ประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับดี 2.01 คะแนนขึ้นไป

                       2) เป็นทีมวิจัยซึ่งเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรหรืออาจารย์ผู้สอน จำนวนไม่น้อยกว่า 2 คน

                       3) ต้องมีเอกสารยืนยันจากสถาบัน หรือ หน่วยงาน หรือ สถานประกอบการว่าจะเข้าร่วมโครงการการเรียนรู้กับการทำงาน (Work integrated Learning : WiL) เช่น บันทึกข้อตกลง (MOU) หนังสือตอบรับการเข้าร่วม เป็นต้น

                       4) เอกสารและหลักฐานยืนยันการจัดตั้งของสถาบัน หรือ หน่วยงาน หรือ สถานประกอบการที่จะเข้าร่วมโครงการการเรียนรู้กับการทำงาน (WiL) เช่น เอกสารการขึ้นทะเบียน เอกสารการ-เป็นผู้ประกอบการ เอกสารการจัดตั้ง เป็นต้น                 

                   2.1.4 ตัวชี้วัดความสำเร็จ

                       1) ผลงานวิจัยที่ต้องสัมฤทธิ์ (Output) ตามเกณฑ์ตัวชี้วัดความสำเร็จตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2560-2564 (ฉบับปรับปรุง 2561)

                       2) ผลการวิจัยที่นำนักศึกษาเข้าร่วมโครงการการเรียนรู้กับการทำงาน (Work integrated Learning : WiL) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของหมู่เรียนที่การจัดการเรียนรู้โดยโครงการการเรียนรู้กับการทำงาน (Wil)

                       3) ส่วนใดส่วนหนึ่งผลงานวิจัยต้องได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล ไม่ต่ำกว่าฐาน (TCI) กลุ่ม 1 จำนวนไม่น้อยกว่า 1 บทความ (ทั้งนี้ขอให้มุ่งเน้นการตีพิมพ์ในวารสารภายนอก มรม.)

                 2.3 การวิจัยและพัฒนาเพื่อจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง (Simulation Based Learning: SBL)

                   2.1.1 เป้าหมาย

                       1) หลักสูตรสาขาวิชาได้จัดการเรียนการสอนโดยแนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง (Simulation Based Learning: SBL) 

                       2) สาธารณชนรับรู้และเห็นคุณค่าของหลักสูตรว่าจัดการศึกษาได้คุณภาพและเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด

                       3) หลักสูตรจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองความต้องการของสังคมชุมชนซึ่งทำให้มีผู้สนใจที่จะศึกษาต่อในหลักสูตรสาชาวิชามากขึ้น

                   2.1.2 กรอบการวิจัย ลักษณะของกรอบการวิจัยลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้

                       1) เป็นการส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตร/พัฒนาอาจารย์/พัฒนานักศึกษา/พัฒนาระบบกลไกการการบริหารจัดการหลักสูตรเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง (Simulation Based Learning: SBL) 

                       2) ลักษณะอื่นที่นำไปสู่การเป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) เกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง (Simulation Based Learning: SBL)                   

                   2.1.3 คุณสมบัติของการขอรับทุน ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

                   คุณสมบัตินักวิจัย

                       1) เป็นบุคลากรประจำ สายวิชาการ หรือนักวิจัย สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และไม่อยู่ระหว่างการลาศึกษาต่อเต็มเวลา

                       2) เป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติงาน และควบคุมการวิจัยได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับทุนอุดหนุนวิจัยและต้องมีสัดส่วนการทำงานวิจัยไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

                       3) เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยได้ไม่เกิน 1 โครงการ

                       4) เป็นผู้ที่ไม่เคยถูกระงับโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม อันเนื่องมาจากหัวหน้าโครงการวิจัยละทิ้งโครงการ และเป็นผู้ไม่เคยผิดสัญญาใดๆ ในการรับทุนอุดหนุนการวิจัย จากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม หรือแหล่งทุนอื่นๆ

                   คุณสมบัติหลักสูตรสาขาวิชา

                       1) เป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรหรืออาจารย์ผู้สอนในหลักสูตรปริญญาตรีที่ได้ผลการประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับดี 2.01 คะแนนขึ้นไป

                       2) เป็นทีมวิจัยซึ่งเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรหรืออาจารย์ผู้สอน จำนวนไม่น้อยกว่า 2 คน

                       3) ต้องมีเอกสารยืนยันจากสถาบัน หรือ หน่วยงาน หรือ สถานประกอบการว่าจะเข้าร่วมโครงการการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง (Simulation Based Learning: SBL) เช่น บันทึกข้อตกลง (MOU) หนังสือตอบรับการเข้าร่วม เป็นต้น

                       4) เอกสารและหลักฐานยืนยันการจัดตั้งของสถาบัน หรือ หน่วยงาน หรือ สถานประกอบการที่จะเข้าร่วมโครงการการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง (Simulation Based Learning: SBL) เช่น เอกสารการขึ้นทะเบียน เอกสารการเป็นผู้ประกอบการ เอกสารการจัดตั้ง เป็นต้น     

                   2.1.4 ตัวชี้วัดความสำเร็จ

                       1) ผลงานวิจัยที่ต้องสัมฤทธิ์ (Output) ตามเกณฑ์ตัวชี้วัดความสำเร็จตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2560-2564 (ฉบับปรับปรุง 2561)

                       2) ผลการวิจัยที่นำนักศึกษาเข้าร่วมโครงการการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง (Simulation Based Learning: SBL) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของหมู่เรียนที่การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง

                       3) ส่วนใดส่วนหนึ่งผลงานวิจัยต้องได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล ไม่ต่ำกว่าฐาน (TCI) กลุ่ม 1 จำนวนไม่น้อยกว่า 1 บทความ (ทั้งนี้ขอให้มุ่งเน้นการตีพิมพ์ในวารสารภายนอก มรม.)

 

                 2.4 การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนผู้ประกอบการ (Startup)

                      2.1.1 เป้าหมาย

                          1) หลักสูตรสาขาวิชาได้จัดการเรียนการสอนโดยกระบวนการการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนผู้ประกอบการ (Startup) 

                          2) สาธารณชนรับรู้และเห็นคุณค่าของหลักสูตรว่าจัดการศึกษาได้คุณภาพและเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด

                          3) หลักสูตรจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองความต้องการของสังคมชุมชนซึ่งทำให้มีผู้สนใจที่จะศึกษาต่อในหลักสูตรสาชาวิชามากขึ้น

                      2.1.2 กรอบการวิจัย ลักษณะของกรอบการวิจัยลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้

                          1) เป็นการส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตร/พัฒนาอาจารย์/พัฒนานักศึกษา/พัฒนาระบบกลไกการการบริหารจัดการหลักสูตรเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนผู้ประกอบการ (Startup)

                          2) ลักษณะอื่นที่นำไปสู่การเป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) เกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนผู้ประกอบการ (Startup)               

                      2.1.3 คุณสมบัติของการขอรับทุน ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

                      คุณสมบัตินักวิจัย

                          1) เป็นบุคลากรประจำ สายวิชาการ หรือนักวิจัย สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และไม่อยู่ระหว่างการลาศึกษาต่อเต็มเวลา

                          2) เป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติงาน และควบคุมการวิจัยได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับทุนอุดหนุนวิจัยและต้องมีสัดส่วนการทำงานวิจัยไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

                          3) เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยได้ไม่เกิน 1 โครงการ

                          4) เป็นผู้ที่ไม่เคยถูกระงับโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม อันเนื่องมาจากหัวหน้าโครงการวิจัยละทิ้งโครงการ และเป็นผู้ไม่เคยผิดสัญญาใดๆ ในการรับทุนอุดหนุนการวิจัย จากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม หรือแหล่งทุนอื่นๆ

                      คุณสมบัติหลักสูตรสาขาวิชา

                          1) เป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรหรืออาจารย์ผู้สอนในหลักสูตรปริญญาตรีที่ได้ผลการประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับดี 2.01 คะแนนขึ้นไป

                                 2) เป็นทีมวิจัยซึ่งเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรหรืออาจารย์ผู้สอน จำนวนไม่น้อยกว่า 2 คน

                          3) ต้องมีเอกสารยืนยันจากสถาบัน หรือ หน่วยงาน หรือ สถานประกอบการ หรือ พื้นที่ปฏิบัติการว่าจะเข้าร่วมโครงการการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนผู้ประกอบการ (Startup) เช่น บันทึกข้อตกลง (MOU) หนังสือตอบรับการเข้าร่วม เอกสารการอนุญาตใช้พื้นที่ เอกสารที่ระบุว่ามีพื้นที่ปฏิบัติการ เป็นต้น

                          4) เอกสารและหลักฐานยืนยันการจัดตั้งของสถาบัน หรือ หน่วยงาน หรือ สถานประกอบการ หรือ พื้นที่ปฏิบัติการ ที่จะเข้าร่วมโครงการการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนผู้ประกอบการ (Startup) เช่น เอกสารการขึ้นทะเบียน เอกสารการเป็นผู้ประกอบการ เอกสารการจัดตั้ง ฯลฯ

                      2.1.4 ตัวชี้วัดความสำเร็จ

                          1) ผลงานวิจัยที่ต้องสัมฤทธิ์ (Output) ตามเกณฑ์ตัวชี้วัดความสำเร็จตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2560-2564 (ฉบับปรับปรุง 2561)

                          2) จำนวนนักศึกษาที่พัฒนาตนเองหรือกำลังพัฒนาตนเองเป็นผู้ประกอบการ (Startup) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของหมู่เรียนที่จัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนผู้ประกอบการ (Startup)

                          3) ส่วนใดส่วนหนึ่งผลงานวิจัยต้องได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล ไม่ต่ำกว่าฐาน (TCI) กลุ่ม 1 จำนวนไม่น้อยกว่า 1 บทความ (ทั้งนี้ขอให้มุ่งเน้นการตีพิมพ์ในวารสารภายนอก มรม.)

                 2.5. การวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบสหกิจศึกษา (Co-operative Education)

                      2.1.1 เป้าหมาย  

                          1) หลักสูตรสาขาวิชาได้จัดการเรียนการสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสหกิจศึกษา (Co-operative Education)

                          2) สาธารณชนรับรู้และเห็นคุณค่าของหลักสูตรว่าจัดการศึกษาได้คุณภาพและเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด

                          3) หลักสูตรจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองความต้องการของสังคมชุมชนซึ่งทำให้มีผู้สนใจที่จะศึกษาต่อในหลักสูตรสาชาวิชามากขึ้น

                      2.1.2 กรอบการวิจัย ลักษณะของกรอบการวิจัยลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้

                          1) เป็นการส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตร/พัฒนาอาจารย์/พัฒนานักศึกษา/พัฒนาระบบกลไกการการบริหารจัดการหลักสูตรเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบสหกิจศึกษา (Co-operative Education)

                          2) ลักษณะอื่นที่นำไปสู่การเป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) เกี่ยวกับการการจัดการเรียนรู้แบบสหกิจศึกษา (Co-operative Education)

             2.1.3 คุณสมบัติของการขอรับทุน ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

                      คุณสมบัตินักวิจัย

                          1) เป็นบุคลากรประจำ สายวิชาการ หรือนักวิจัย สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และไม่อยู่ระหว่างการลาศึกษาต่อเต็มเวลา

                          2) เป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติงาน และควบคุมการวิจัยได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับทุนอุดหนุนวิจัยและต้องมีสัดส่วนการทำงานวิจัยไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

                          3) เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยได้ไม่เกิน 1 โครงการ

                          4) เป็นผู้ที่ไม่เคยถูกระงับโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม อันเนื่องมาจากหัวหน้าโครงการวิจัยละทิ้งโครงการ และเป็นผู้ไม่เคยผิดสัญญาใดๆ ในการรับทุนอุดหนุนการวิจัย จากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม หรือแหล่งทุนอื่นๆ

                      คุณสมบัติหลักสูตรสาขาวิชา

                          1) เป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรหรืออาจารย์ผู้สอนในหลักสูตรปริญญาตรีที่ได้ผลการประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับดี 2.01 คะแนนขึ้นไป

                                 2) เป็นทีมวิจัยซึ่งเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรหรืออาจารย์ผู้สอน จำนวนไม่น้อยกว่า 2 คน

                          3) ต้องมีเอกสารยืนยันจากสถาบัน หรือ หน่วยงาน หรือ สถานประกอบการ ว่าจะเข้าร่วมโครงการการจัดการเรียนรู้แบบสหกิจศึกษา (Co-operative Education) เช่น บันทึกข้อตกลง (MOU) หนังสือตอบรับการเข้าร่วม เป็นต้น

                          4) เอกสารและหลักฐานยืนยันการจัดตั้งของสถาบัน หรือ หน่วยงาน หรือ สถาน-ประกอบการ หรือ พื้นที่ปฏิบัติการ ที่จะเข้าร่วมโครงการการจัดการเรียนรู้แบบสหกิจศึกษา (Co-operative Education) เช่น เอกสารการขึ้นทะเบียน เอกสารการเป็นผู้ประกอบการ เอกสารการจัดตั้ง ฯลฯ

                      2.1.4 ตัวชี้วัดความสำเร็จ

                          1) ผลงานวิจัยที่ต้องสัมฤทธิ์ (Output) ตามเกณฑ์ตัวชี้วัดความสำเร็จตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2560-2564 (ฉบับปรับปรุง 2561)

                          2) ผลการวิจัยที่นำนักศึกษาเข้าร่วมโครงการการจัดการเรียนรู้แบบสหกิจศึกษา (Co-operative Education) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของหมู่เรียนที่จัดการศึกษาแบบสหกิจศึกษา

                          3) ส่วนใดส่วนหนึ่งผลงานวิจัยต้องได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล ไม่ต่ำกว่าฐาน (TCI) กลุ่ม 1 จำนวนไม่น้อยกว่า 1 บทความ (ทั้งนี้ขอให้มุ่งเน้นการตีพิมพ์ในวารสารภายนอก มรม.)

3. งบประมาณ และเป้าหมายของผลผลิต (output)

  โครงการวิจัยทั่วไป เป็นโครงการวิจัยเดี่ยว งบประมาณไม่เกิน 50,000 บาท

 4. การส่งข้อเสนอโครงการวิจัย

  4.1 ดาวน์โหลด แบบเสนอโครงการวิจัย (Template Research Project) ได้ทางเว็บไซต์  ้http://research.rmu.ac.th/file/docx/ฟอร์มข้อเสนอวิจัยหลักสูตร.docx เพื่อเตรียมร่างข้อเสนอโครงการวิจัย ได้ตั้งแต่บัดนี้

           4.2 นักวิจัยพิมพ์เอกสารข้อเสนอโครงการวิจัย จำนวน 3 ชุด/โครงการ โดยนักวิจัยนำส่งที่สถาบันวิจัยและพัฒนา ภายในวันที่ 20 พฤษภาคม 2562 เวลา 16.30 น. ทั้งนี้สถาบันวิจัยและพัฒนาขอสงวนสิทธิ์ไม่รับพิจารณาข้อเสนอโครงการวิจัยที่นำส่งถึงสถาบันวิจัยและพัฒนาหลังกำหนดเวลาดังกล่าว

5. การติดต่อสอบถาม

            สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สถาบันวิจัยและพัฒนา ผู้ประสานโครงการวิจัย คุณกฤษฎา แสนบัวคำ มือถือ 08 9944 8023 โทรภายใน 319 หรืออีเมล์ krisdadoi@hotmail.com

                      ประกาศ  ณ  วันที่  ๘  พฤษภาคม พ.ศ.2562

 


                (นายวุฒิพล  ฉัตรจรัสกูล)
        รองอธิการบดี รักษาราชการแทน
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ดาวน์โหลด :
ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2)
แบบฟอร์มข้อเสนอวิจัยหลักสูตร